Book Creator

ภาษาไทย

by 046 สุนิสา ศักดิ์อรุณชัย

Cover

Comic Panel 1
Loading...
ไตรภูมิพระร่วง
Loading...
นางสาวสุนิสา ศักดิ์อรุณชัย
รหัสนักศึกษา 644101046 หมู่เรียน 64/23
Comic Panel 2
Comic Panel 3
Comic Panel 4
ที่มาของเรื่อง
Comic Panel 2
ไตรภูมิพระร่วง มีหลายชื่อเรียกได้แก่ "ไตรภูมิพระร่วง" "เตภูมิกถา" "ไตรภูมิกถา" "ไตรภูมิโลกวินิจฉัย" และ "เตภูมิโลกวินิจฉัย"
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเปลี่ยนชื่อหนังสือเล่มนี้เป็นไตรภูมิพระร่วง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัยให้คู่กับ
หนังสือสุภาษิตพระร่วง
Comic Panel 2
ผู้แต่ง
หนังสือไตรภูมิพระร่วงเป็นวรรณคดีทางศาสนาที่สำคัญเล่มหนึ่งในสมัยสุโขทัย ซึ่งมีอิทธิพลต่อคนไทยมาก พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พญาลิไท) ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นหลังจากที่ทรงผนวชแล้ว และขึ้นครองราชย์ได้ ๖ ปี ประมาณ พ.ศ. ๑๘๙๖
Comic Panel 2
งานพระราชนิพนธ์ของพญาลิไท ได้แก่ ไตรภูมิพระร่วงหรือเตภูมิกถาศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงและศิลาจากรึกวัดศรีชุม
พญาลิไท ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ทรงอาราธนาพระเถระชาวลังกาเข้ามาเป็นสังฆราชในกรุงสุโขทัย ได้สละราชสมบัติออกทรงผนวชที่วัดป่ามะม่วงนอกเมืองสุโขทัยทางทิศตะวันตก พญาลิไททรงมีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก ทรงสนพระทัยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก และทรงพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญหลายประการ
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
แบ่งออกเป็น ๒ ประการ
เพื่อเทศนาโปรดพระมารดาเป็นการเจริญธรรมกตัญญู
เพื่อใช้สั่งสอนประชาชนให้มีคุณธรรม เข้าใจพุทธศาสนา และช่วยกันดำรง
พุทธศานาไว้ให้มั่นคง
ลักษณะคำประพันธ์
  ร้อยแก้ว ประเภทความเรียงสำนวนพรรณนา
เนื้อหา
หนังสือไตรภูมิพระร่วง เป็นวรรณคดีพุทธศาสนา ที่พญาลิไททรงรวบรวมเนื้อหาสาระจากคัมภีร์ต่าง ๆ ในพุทธศาสนา ทั้งพระไตรปิฎก อรรถกถา และอื่น ๆ ไม่น้อยกว่า ๓๐ คัมภีร์ จึงจัดได้ว่าเป็นพระราชนิพนธ์ประเภทค้นคว้ารวบรวมที่ดีเล่มหนึ่ง เนื้อเรื่องเริ่มต้นด้วยคาถานมัสการเป็นภาษาบาลี มีบานแพนกบอกชื่อผู้แต่ง วันเดือนปีที่แต่ง ชื่อคัมภีร์ต่าง ๆ บอกจุดมุ่งหมายในการแต่ง แล้วจึงกล่าวถึงภูมิทั้ง ๓ คำว่า เตภูมิ หรือ ไตรภูมิ แปลว่า สามแดน คือ กามภูมิ รูปภูมิอรูปภูมิ ทั้ง ๓ ภูมิ แบ่งออกเป็น ๘ กัณฑ์ (กัณฑ์ = เรื่อง,หมวด,ตอน)แสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง ความไม่แน่นอนทั้งมนุษย์และสัตว์รวมทั้งสิ่งไม่มีชีวิต เช่น ภูเขา แม่น้ำ แผ่นดิน ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ความเปลี่ยนแปลงนี้กวีไทยเรียกว่า “ อนิจจลักษณะ ”ไตรภูมิพระร่วง เดิมเรียกว่า ไตรภูมิกถา / เตภูมิกถา หมายถึงเรื่องราวของโลกทั้ง ๓ ได้แก่ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ
ขอบคุณค่ะ
PrevNext